สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 2-8 มี.ค.61

ฝ้าย

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้
          ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา

          ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)

          ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนพฤษภาคม 2561 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 83.55 เซนต์
(กิโลกรัมละ 58.11 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 82.10 เซนต์ (กิโลกรัมละ 57.13 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.77 และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.98 บาท

 



ปศุสัตว์

สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
          สัปดาห์นี้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรที่มีไม่มากนัก ขณะที่ปริมาณสุกรออกยังคงมีมาก ส่งผลให้ภาวะตลาดสุกรค่อนข้างเงียบเหงา แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะลดลงเล็กน้อย 
          สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 45.72 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 46.77 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.25 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 46.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 46.46 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 45.81 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 43.36 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,200 บาท (บวกลบ 41 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
          ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
          ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 4.40
 
ไก่เนื้อ
 
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ 
          สถานการณ์ไก่เนื้อสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากปริมาณไก่เนื้อออกสู่ตลาดมากและใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคเนื้อไก่ค่อนข้างทรงตัว แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
          ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 33.91 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 34.08 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.50 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 33.14 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.51 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 11.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
          ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา

ไข่ไก่

สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ

          ภาวะตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดค่อนข้างมากและใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคไข่ไก่ที่ค่อนข้างทรงตัว แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
          ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 264 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 263 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.38 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 276 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 281 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 253 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา 
          าคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
          ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 261 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 271 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 3.69 

ไข่เป็ด

          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
          ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 331 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 335 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.19 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 349 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 349 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 297 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 352 บาท 
          ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 350 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 370 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.41

โคเนื้อ 
 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
          ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.94 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.10 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัม 91.54 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 87.34 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 90.42 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 99.56 บาท

กระบือ

          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
          ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 72.73 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 72.71 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.03 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 92.35 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 68.95 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา


ถั่วเขียว

สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ 

          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
          ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 21.45 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 20.24 บาท
ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.98 
          ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา 
          ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
          ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 24.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.33 
     ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 20.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 20.00
          ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 16.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 37.50 
          ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.00 บาท สูงขึ้นจากราคากิโลกรัมละ 12.00 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 33.33
          ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 
          ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
          ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 864.80 ดอลลาร์สหรัฐ (26.93 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 799.75 ดอลลาร์สหรัฐ (24.91 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.13 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 2.02 บาท
          ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 800.40 ดอลลาร์สหรัฐ (24.92 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 670.50 ดอลลาร์สหรัฐ (20.89 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 19.37 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 4.03 บาท
          ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 736.00 ดอลลาร์สหรัฐ (22.92 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 541.50 ดอลลาร์สหรัฐ (16.87 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 35.92 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 6.05 บาท
          ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 542.20 ดอลลาร์สหรัฐ (16.88 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 412.50 ดอลลาร์สหรัฐ (12.85 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 31.44 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 4.03 บาท 
          ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 793.80 ดอลลาร์สหรัฐ (24.72 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 793.00 ดอลลาร์สหรัฐ (24.70 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.10 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท

 


 

สับปะรด

ผลผลิต เพิ่มขึ้น

          ปริมาณผลผลิตสับปะรดที่ออกสู่ตลาดเดือนมีนาคม2561 ประมาณ 0.265 ล้านตัน หรือร้อยละ 10.80 ของปริมาณผลผลิตรวม 2.462 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.229 ล้านตัน ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 15.72 และเพิ่มขึ้นจากปริมาณ 0.260 ล้านตัน ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.92

การส่งออก ลดลง
          ปี 2561 เดือนมกราคม มีการส่งออกสับปะรดสดและผลิตภัณฑ์ปริมาณรวม 0.156 ล้านตันสด ลดลงจากปริมาณ 0.161 ล้านตันสด ของเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 3.10 และลดลงจาก 0.179 ล้านตันสด ในช่วงเดียวกันของปี 2559 หรือลดลงร้อยละ 12.84

ราคา ลดลง

          ช่วงนี้เป็นช่วงฤดูกาล มีผลผลิตสับปะรดออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้โรงงานแปรรูปปรับราคารับซื้อลดลง โดยราคาที่เกษตรกรขายได้ ดังนี้ 
          - สับปะรดโรงงานกิโลกรัมละ 4.24 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 4.39 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.42 และลดลงจากกิโลกรัมละ 6.51 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 34.86

          - สับปะรดบริโภคกิโลกรัมละ 9.51 ลดลงจาก
กิโลกรัมละ 9.58 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.73 และลดลงจากกิโลกรัมละ 12.13 บาท ในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 21.59

ไหม

     ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,729 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
     ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,272 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
     ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,159 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,156 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.26


ถั่วเหลือง

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
          ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 15.95 บาท ลดลงจาก กก ละ 16.02 บาท ในสัปดาห์ ที่ผ่านมาร้อยละ 0.44 
          ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
          ราคาขายส่งกากถั่วเหลืองใน สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ

          ราคาในตลาดต่างประเทศ (ตลาดชิคาโก) 
          ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 1,060.04 เซนต์ (12.29 บาท/กก.) สูงขึ้น จากบุชเชลละ 1,042.08 เซนต์ ( 12.09 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.72
          ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 384.96 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.15 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 385.48 ดอลลาร์สหรัฐฯ (12.17 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.13
          ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 31.99 เซนต์ (22.24 บาท/กก.) ลดลงจากปอนด์ละ 32.25 เซนต์ (22.44 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.81


ถั่วลิสง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ 
     ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้ 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ 
          ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 37.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
          ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.51 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.00 บาทของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 14.97 

          ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 
          ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 
          ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน



ตารางราคาเกษตรกรขายได้ ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ     

               ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้

               ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.24 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.98 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 
               ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.99 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.88 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.11 และราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.34 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 9.23 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.19 
               ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 329.60 ดอลลาร์สหรัฐ (10,262 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากตันละ 326.25 ดอลลาร์สหรัฐ (10,163 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.03 แต่เพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 99.00 บาท 
               ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนพฤษภาคม 2561 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกัน
ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 388.24 เซนต์ (4,822 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 373.12 เซนต์ (4,637 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.05 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 185.00 บาท


มันสำปะหลัง
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ 
          การผลิต 
               ผลผลิตมันสำปะหลัง ปี 2561 (เริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 – กันยายน 2561) คาดว่ามีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.07 ล้านไร่ ผลผลิต 28.57 ล้านตัน ผลผลลิตต่อไร่ 3.54 ตัน เมื่อเทียบกับปี 2560
ที่มีพื้นที่เก็บเกี่ยว 8.91 ล้านไร่ ผลผลิต 30.94 ล้านตัน และผลผลิตต่อไร่ 3.47 ตัน พบว่า พื้นที่เก็บเกี่ยวและผลผลิตลดลงร้อยละ 9.43 และ 7.66 ตามลำดับ ส่วนผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นร้อยละ 2.02 โดยเดือนมีนาคม 2561 
คาดว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 4.80 ล้านตัน (ร้อยละ 16.79 ของผลผลิตทั้งหมด) 
               ทั้งนี้ผลผลิตมันสำปะหลังปี 2561 ออกสู่ตลาดแล้ว (เดือนตุลาคม 2560 – กุมภาพันธ์ 2561) ปริมาณ 14.92 ล้านตัน (ร้อยละ 52.17 ของผลผลิตทั้งหมด) 
          การตลาด 
               ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการมันสำปะหลัง ประกอบกับราคาส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ราคาที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวสูงขึ้นด้วย 
          ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศประจำสัปดาห์ สรุปได้ดังนี้ 
               ราคาหัวมันสำปะหลังสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.24 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.18 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 2.75 
               ราคามันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.12 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.09 บาท
ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 0.59 
          ราคาขายส่งในประเทศ 
               ราคาขายส่งมันเส้น (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต จ.ชลบุรี และ จ.อยุธยา) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.75 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.47 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 4.33 
               ราคาขายส่งแป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ (ส่งมอบ ณ คลังสินค้าเขต กรุงเทพและปริมณฑล) สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.66 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 14.18 บาท ในสัปดาห์ก่อนคิดเป็นร้อยละ 3.39
          ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี 
               ราคาส่งออกมันเส้น สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 226 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 7,037 บาท 
               ราคาสูงขึ้นในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ตันละ 6 ดอลลาร์สหรัฐฯ และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 184 บาท 
               ราคาส่งออกแป้งมันสำปะหลัง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือตันละ 15,412 บาท 
               ราคาสูงขึ้นในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ตันละ 10 ดอลลาร์สหรัฐฯ และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 304 บาท


ปาล์มน้ำมัน 
  1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ

          สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2561 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนกุมภาพันธ์จะมีประมาณ 0.956 
ล้านตันคิด เป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.163 ล้านตัน ลดลงจากผลผลิตปาล์มทะลาย 0.998 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.170 ล้านตัน ของเดือนมกราคม 2561 คิดเป็นร้อยละ 4.21 และร้อยละ 4.12 ตามลำดับ
          ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
          ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 3.17 บาท ลดลงจาก กก.ละ 3.53 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 10.20 

          ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
          ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 21.80 บาท ลดลงจาก กก.ละ 22.20 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 1.80 

2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ 
          ราคาน้ำมันปาล์มของมาเลเซียปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับผลผลิตที่เพิ่มขึ้นในปี 2561 
          ราคาน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายล่วงหน้าตลาดมาเลเซียในเดือนมีนาคม 2561 ปรับตัวลดลงอยู่ที่ 2,300 ริงกิต ต่อตัน (588.84 ดอลลาร์สหรัฐฯ) และราคาจะปรับตัวลดลงจนถึงเดือนมิถุนายน 2561 เนื่องจากน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ปริมาณอยู่ที่ 20.76 ล้านตัน และอินโดนีเซียมีปริมาณอยู่ที่ 38.3 ล้านตัน ส่งผลให้น้ำมันปาล์มดิบของโลกเพิ่มขึ้นปริมาณอยู่ที่ 70.84 ล้านตัน จากเดิมอยู่ที่ 67.87 ล้านตัน ในปี 2560 อย่างไรก็ตาม คาดว่าความต้องการใช้น้ำมันปาล์มดิบจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ระดับสต็อกน้ำมันปาล์มดิบของโลกลดลง ตามการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก
          ราคาในตลาดต่างประเทศ 
          ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,486.80 ดอลลาร์มาเลเซีย (20.30 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 2,554.40 ดอลลาร์มาเลเซีย (20.81 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.65 
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 685.00 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21.61 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 684.38 ดอลลาร์สหรัฐฯ (21.61 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.09
          หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 3 วัน